โรคเกาต์
เกาต์ หรือ เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง
(พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน])
จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย
หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55
ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว
ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ
นิ้วหัวแม่เท้า
เกาต์ หรือ เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง
(พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน)
จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย
หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55
ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว
ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ
นิ้วหัวแม่เท้า
สาเหตุของโรคเกาต์
โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน
จนเกิดการตกผลึกของยูเรตตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ (ทำให้เกิดข้ออักเสบ) ไต
(ทำให้เกิดนิ่วในไตและไตวาย) ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจาก ร่างกายสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก(นอกจากกรดยูริกในเลือดสูงจะเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว
ยังพบว่าอาจเป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีสารพิวรีนสูง
และจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรีนออกมา
ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้)
หรือเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณที่ขับออกจากร่างกายมีน้อยกว่า (กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกายได้ 2 ทางหลัก
คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3
และส่วนที่เหลือจะขับออกทางไตได้ประมาณ 2 ใน 3
ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต)
ส่วนสาเหตุอื่น ๆ หรือสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบเป็นซ้ำใหม่ คือ
- ความผิดปกติทางพันธุกรรมจากการขาดเอนไซม์บางตัวหรือเอนไซม์บางตัวทำงานมากเกินไป
เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
- เกิดจากโรคบางชนิดที่ส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รวมไปถึงการใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น
- เกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง เช่น
เป็นโรคไต ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ
- เกิดจากโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น
ไฮโปไทรอยด์ (ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน, ภาวะขาดไทรอยด์)
เพราะส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
- เกิดจากเพศ
เนื่องจากพบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
ไวน์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการขับกรดยูริกออกทางไตหรือทางปัสสาวะ
หลังการดื่มจึงทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง กรดยูริกจึงคั่งอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ
- การรับประทานอาหารที่ให้กรดยูริก
(สารพิวรีน) สูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ หรือการรับประทานอาหารที่หมักด้วยยีสต์ (Yeast คือ เชื้อราบางชนิดที่ใช้ในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม)
เพราะเป็นสาเหตุทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
- ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน
โดยอาจสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน (Insulin
resistance)
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ข้อกระดูก
การกระทบกระแทกที่ข้อ
- อากาศเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง เช่น
ช่วงเช้า หรือช่วงก่อนฝนตก
- การติดเชื้อของร่างกาย
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้
เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide – HCTZ), ไซโคลสปอริน
(Cyclosporin), เลโวโดปา (Levodopa) เป็นต้น
หมายเหตุ : กรดยูริก หรือ กรดยูริค (Uric
acid) เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารพิวรีน (Purine)
ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง
อาหารทะเล ยีสต์ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน และเป็นผลมาจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย
จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา และจะถูกขับออกทางไต
แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
ก็จะทำให้ร่างกายมีกรดยูริกคั่งอยู่มากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง
ไต และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ (โรคเกาต์ หมายถึง
ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวม แดง ร้อน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้
และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องโรคนี้เสมอไป)หมายเหตุ : กรดยูริก หรือ กรดยูริค (Uric
acid) เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารพิวรีน (Purine)
ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง
อาหารทะเล ยีสต์ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน
และเป็นผลมาจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา
และจะถูกขับออกทางไต
แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
ก็จะทำให้ร่างกายมีกรดยูริกคั่งอยู่มากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง
ไต และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ (โรคเกาต์ หมายถึง
ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวม แดง ร้อน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้
และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องโรคนี้เสมอไป)
ความเสี่ยงของโรคเกาต์
โรคเกาต์ เกิดได้จากหลากหลายความเสี่ยงดังต่อไปนี้
1. การดำเนินชีวิตที่ไม่ดี การดำเนินชีวิตที่ไม่ดีอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ได้
ยกตัวอย่างเช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูงและเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อไก่
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวันมากกว่าวันละ 2 แก้ว
สำหรับผู้ชายและมากกว่าวันละ 1 แก้วสำหรับผู้หญิง
2. การลดน้ำหนักเร็วเกินไป คนที่เป็นโรคอ้วนมักจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ได้สูง
โดยเฉพาะเมื่อลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป
นั่นก็เพราะว่าเมื่อลดน้ำหนักจะทำให้ร่างกายปลดปล่อยสารพิวรีนออกมาเป็นจำนวนมาก
และสารตัวนี้นี่เองที่ไปกระตุ้นให้เกิดการผลิตกรดยูริคมากขึ้นจนส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด
ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรลดแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่หักโหมจนเกินไปจะดีกว่า
นอกจากนี้อาหารที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักบางอย่าง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
เช่น อาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง และพวกเครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด
รวมถึงเบคอน ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นโรคเกาต์ก็ควรระมัดระวังการกินอาหารเหล่านี้ไม่ให้มากเกินไปเด็ดขาด
3. โรคบางชนิดหรือยารักษาโรคบางชนิด
นอกจากสาเหตุอื่นๆ แล้ว
โรคเกาต์ก็อาจเกิดจากการเป็นโรคหรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิดได้เหมือนกัน
ซึ่งโรคที่พบว่าทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ได้มากที่สุด ก็คือ
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดตีบ ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
รวมถึงการผ่าตัดและการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันก็อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ได้
ส่วนยาที่ส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ที่เห็นได้ชัด
ก็ได้แก่ยาขับปัสสาวะรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาแอสไพริน
การทำเคมีบำบัดและยาที่ใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
นั่นก็เพราะยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้มีการปล่อยสาวพิวรีนออกมามากขึ้นและสลายเป็นกรดยูริคในปริมาณมากจนทำให้เป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุดนั่นเอง
4. กรรมพันธุ์ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ด้วยสาเหตุจากกรรมพันธุ์จะพบได้
1 ใน 4 ดังนั้นหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคเกาต์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเกาต์ให้สูงขึ้นไปอีกนั่นเอง
5. อายุและเพศ จากสถิติการป่วยด้วยโรคเกาต์พบว่า
ผู้ชายมักจะเกิดโรคเกาต์ได้ง่ายในช่วงอายุ 30-50 ปี
ในขณะที่ผู้หญิงจะเกิดโรคเกาต์ได้ในช่วงอายุหลังวัย 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งในขณะเดียวกันผู้ชายก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ได้มากกว่าผู้หญิงถึง 5
เท่าอีกด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในคนที่มีอายุมากขึ้นจะต้องระมัดระวังโรคเกาต์มากเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะผู้ชายในช่วงวัยดังกล่าว
อาการของโรคเกาต์
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง
ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีแบบฉับพลัน (มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 วัน) ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว
ซึ่งข้อที่พบว่าปวดกันมาก คือ นิ้วหัวแม่เท้า (ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า ก็อาจพบได้บ้างในผู้ป่วยบางราย) โดยข้อที่ปวดจะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว
ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อสัมผัสถูก และจะพบลักษณะจำเพาะ คือ เมื่ออาการเริ่มจะทุเลาลง
ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน
- ในการปวดข้อครั้งแรก
ผู้ป่วยมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง
- ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการไข้
หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
- ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการปวดในตอนกลางคืน
และมักจะเป็นหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลังกินเลี้ยง หรือหลังกินอาหารมากผิดปกติ
หรือเดินสะดุด และในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการขณะที่มีภาวะเครียดทางจิตใจ
เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัดด้วยสาเหตุอื่น
- ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมโรคให้ดี
ในระยะแรก ๆ อาการอาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยจะเป็นที่ข้อเดิม
แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน
แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งเป็นทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง
และระยะการปวดจะนานวันมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน
จนกระทั่งปวดนานขึ้นเป็นหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา
ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ เช่น ข้อมือ
ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ
- ในระหลัง ๆ เมื่อข้ออักเสบหลายข้อขึ้น
ผู้ป่วยมักจะสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า
ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่าปุ่มโรคเกาต์หรือตุ่มโทฟัส (Tophus หรือ Tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของกรดยูริก
ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออกเป็นสารขาว ๆ
คล้ายกับชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า และในที่สุดข้อต่าง
ๆ ก็จะค่อย ๆ พิการจนใช้งานไม่ได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์
- กลายเป็นโรคเกาต์เรื้อรังเมื่อไม่ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
หรือเกิดปุ่มผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จนส่งผลเสียต่อบุคลิกและภาพลักษณ์
- ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้เกิดภาวะข้อพิการ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (พบได้ประมาณ 25%) ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อนตามมาได้
- ผู้ป่วยโรคเกาต์มักจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากกว่าคนปกติ
(สันนิษฐานว่าอาจมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ของโรคเหล่านี้ร่วมกับโรคเกาต์)
และถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้ควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ปล่อยให้เป็นแบบเรื้อรัง ในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรคเกาต์
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยดูจากประวัติอาการต่าง
ๆ ประวัติการรับประทานอาหารหรือยาบางชนิด ประวัติการเป็นโรคเกาต์ของคนในครอบครัว
การเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ การตรวจร่างกาย ซึ่งข้อที่ปวดของผู้ป่วยจะมีลักษณะบวมแดงร้อน
ผู้ป่วยอาจมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจพบตุ่มโทฟัส
และการตรวจเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก (อ่านเพิ่มเติมที่บทความเรื่อง การตรวจกรดยูริกในเลือด) อาจมีตรวจภาพข้อที่เกิดโรคด้วยการเอกซเรย์ด้วยในบางราย
แต่ที่แน่นอน คือ แพทย์จะเจาะดูดน้ำจากข้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ซึ่งถ้าพบผลึกของยูเรตแพทย์ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์
อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบโรคเกาต์
หากตรวจพบระดับยูริกในเลือดปกติ
แพทย์จะเจาะดูดน้ำจากข้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วย ถ้าพบผลึกของยูเรตแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์
แต่ถ้าสิ่งที่ตรวจพบเป็นผลึกของแคลเซียมไพโรฟอสเฟต (Calcium
pyrophosphate) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็น “โรคเกาต์เทียม”
(Pseudogout) ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ ปวดข้อ
ข้ออักเสบเฉียบพลันกำเริบเป็นครั้งคราวคล้ายโรคเกาต์ แต่โรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะทุเลาลงได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
โรคที่มักพบร่วมกับโรคเก๊าท์ (associated
diseases)
1. โรคความดันโลหิตสูง
2. ภาวะไขมันในเลือดสูง
(hypertriglyceridemia)
3. โรคเบาหวาน
4. ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก
premature artherosclerosis เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตายเฉียบพลัน
หลอดเลือดสมองอุดตัน
ทั้งหมดนี้เป็นโรคที่พบร่วมกัน แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันในแง่พยาธิกำเนิด
วิธีรักษาโรคเกาต์
1. การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์ (วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์เบื้องต้น)
- เมื่อมีอาการปวดควรนอนพักผ่อน
- ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เพื่อป้องกันนิ่วในไต (การดื่มน้ำมาก ๆ
จะช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต และช่วยลดโอกาสการตกตะกอนจนเป็นนิ่วในไต)
เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำ
- งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
โดยเฉพาะเบียร์ เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีการเพิ่มของสารแล็กเทสในเลือด
ซึ่งสารนี้จะไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากไต
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา
หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลาไส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ น้ำต้มกระดูก
กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์)
น้ำเกรวี (Gravy) เป็นต้น
ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกปานกลาง ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้พอประมาณ
แต่อย่าซ้ำบ่อย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู
ดอกกะหล่ำ ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก สะตอ หน่อไม้ ถั่วเป็นต้น
ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกต่ำ ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัด ได้แก่ ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิด ธัญพืช ปลาน้ำจืด ข้าว
ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
- รับประทานอาหารประเภทข้าว-แป้งให้มากพอ
(วันละ 8-12
ทัพพี) เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่าง
ๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลัง
เนื่องจากการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น
- รับประทานผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ
ให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด
จึงส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น
คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักยอดอ่อน
- ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองด้วยว่า
อาหารประเภทใดที่กินแล้วสามารถควบคุมกรดยูริกในเลือดได้ดีก็ให้เลือกกินอาหารประเภทนั้น
หรืออาหารประเภทใดที่กินแล้วทำให้อาการกำเริบก็ควรหลีกเลี่ยง
- ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน
ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อยอย่างถูกวิธี (ควรใช้วิธีการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ)
ไม่ควรเกินครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ อย่าลดน้ำหนักตัวแบบฮวบฮาบ
เพราะจะมีผลทำให้เกิดภาวะคีโตนในเลือดสูง
จนส่งผลให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
และที่สำคัญก็คือไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการอดอาหารอย่างเด็ดขาด
เพราะจะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์อย่างรวดเร็วผิดปกติ
ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ข้ออักเสบกำเริบขึ้นมาได้
- ควรระมัดระวังอย่าให้ข้อกระดูกได้รับการบาดเจ็บ
- หลีกเลี่ยงการซื้อยาต่าง ๆ
กินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หรือใช้ยาที่อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ เช่น
แอสไพริน (Aspirin),
ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) ฯลฯ
- งดการบีบนวดตรงตำแหน่งที่เจ็บ
เพราะยิ่งนวดจะยิ่งปวดและหายช้า
- เมื่อมีอาการปวดให้ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ
หรือใช้น้ำแข็งประคบตรงข้อที่ปวด ประมาณ 20 นาที และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักตรงข้อนั้น ๆ
- เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว
ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
- ควรกินยาต่าง ๆ
ตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ถูกต้อง และไม่ขาดยา
2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัดเจน
แพทย์จะให้ยาลดข้ออักเสบ เช่น โคลชิซิน (Colchicine) ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ด แล้วให้ซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ดทุก ๆ 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วให้เป็น 1
เม็ดทุก 2 ชั่วโมงจนกว่าจะหายปวด
แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน
ซึ่งเกิดจากพิษของยาก็ต้องหยุดใช้ยา โดยทั่วไปจะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด แล้วอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 24-72 ชั่วโมง
(ถ้ามีอาการท้องเดินให้กินยาโลเพอราไมด์ (Loperamide))
- ถ้าไม่มียาโคลชิซินหรืออยู่ในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน
แพทย์จะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรืออินโดเมทาซิน (Indomethacin)
ในครั้งแรกให้ 2 เม็ด แล้วให้ 1 เม็ดทุก ๆ 6 ชั่วโมง จนกว่าจะหาย แต่ยานี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ บางอย่าง เช่น
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
- แต่ถ้ายังไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องให้ยาสเตียรอยด์แทน
จากการวิจัยพบว่า กลูโคคอร์ติคอยด์มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับ NSAIDs และสามารถใช้ในกรณีที่ NSAIDs ถูกห้ามใช้ได้
โดยยานี้จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นเมื่อฉีดเข้าไปในข้อต่อ อย่างไรก็ตาม
ไม่ควรใช้ยานี้ในกรณีที่มีการติดเชื้อที่ข้อต่อ เพราะสเตียรอยด์จะทำให้อาการแย่ลง
3. ผู้ป่วยที่อาการยังไม่ดีขึ้น
หรืออาการยังไม่ชัดเจน (แต่มีอาการผิดปกติของข้อ)
หรือให้ยาลดข้ออักเสบแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
โดยแพทย์มักจะตรวจวินิจฉัยโรคนี้โดยการเจาะเลือดเพื่อหาระดับของกรดยูริกในเลือด
(ค่าปกติจะเท่ากับ 3-7
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ถ้าผลตรวจออกมายังไม่ชัดเจน อาจต้องทำการเจาะดูดน้ำจากข้อที่อักเสบไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ถ้าเป็นโรคนี้ก็จะตรวจพบผลึกของยูเรต
นอกจากนี้ถ้ามีความจำเป็นอาจต้องมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
4. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์เรื้อรัง
แพทย์จะให้กินยาโคลชิซิน (Colchicine)
วันละ 1-2 เม็ด เพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบเป็นประจำ
5. ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ
(เป็นทางเลือกสำหรับการป้องกัน)
เพื่อควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แต่ก่อนการใช้ยานี้จะต้องรอให้ข้อหายอักเสบก่อน แล้วจึงเริ่มกินยาลดกรดยูริก
(หรือปรับเพิ่มขนาดในรายที่เคยได้รับยานี้อยู่ก่อนแล้ว)
เนื่องจากการลดหรือเพิ่มกรดยูริกในทันทีจะเป็นการกระตุ้นให้ข้ออักเสบมากขึ้นหรือนานยิ่งขึ้นได้
โดยยาลดกรดยูริกนี้จะมีให้เลือกใช้อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
แพทย์จะเลือกให้ใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย)
และผู้ป่วยจะต้องกินยานี้เป็นประจำทุกวันไปตลอดชีวิต
จึงจะช่วยให้สารยูริกที่สะสมอยู่ตามข้อและอวัยวะต่าง ๆ ละลายหายไปได้
รวมทั้งตุ่มโทฟัสก็จะยุบหายไปในที่สุด
(ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดกรดยูริกไม่จำเป็นต้องงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์อย่างเคร่งครัด
ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิดในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของยาที่ใช้)
ได้แก่
- ยาลดการสร้างกรดยูริก เช่น ยาเม็ดอัลโลพูรินอล (Allopurinol) ในขนาด 200-300
มิลลิกรัมต่อวัน
แต่ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงและอาจทำให้ตับอักเสบ (ถ้ากินแล้วเกิดการแพ้ คือ
มีอาการคันตามตัว ควรหยุดใช้ยานี้ทันที)
- ยาขับกรดยูริก เช่น ยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) 1-2 เม็ดต่อวัน
แต่ยานี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีนิ่วในไตหรือภาวะไตวาย ถ้ากินยานี้ก็ไม่ควรกินยาแอสไพริน
เพราะจะทำให้ฤทธิ์ในการขับกรดยูริกลดน้อยลง และที่สำคัญผู้ป่วยที่กินยานี้
ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตรต่อวัน
เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไต เนื่องจากการตกตะกอนของกรดยูริก
6. ผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริก
จำเป็นต้องไปรับการตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ
แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติแล้วก็ตาม
เพื่อติดตามดูว่าระดับของกรดยูริกในเลือดยังอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
7. ผู้ป่วยที่มีเพียงกรดยูริกในเลือดสูง
โดยไม่มีอาการปวดข้อหรืออาการอื่น ๆ ก็ไม่ต้องใช้ยาลดกรดยูริก
ยกเว้นถ้ามีระดับของกรดยูริกสูงเกิน 12 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ก็ควรกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ
คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเกาต์
- เมื่อมีอาการผิดปกติของข้อเกิดขึ้น
ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือเคยเป็นโรคเกาต์มาก่อน ควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่าง
ๆ เลวร้ายลง หรือเมื่อมีความกังวลใจในอาการที่เกิดขึ้น
- โรคเกาต์แม้จะเป็นโรคเรื้อรัง
แต่ก็ไม่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต (ถ้าไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดไตวาย)
และหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข ดังนั้น
ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาอย่าได้ขาด กินยาตามที่แพทย์สั่งไปตลอดชีวิต
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ
- ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์
ควรตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ ๆ
- โรคเกาต์เป็นโรคที่ไม่ค่อยเกิดในสัตว์ชนิดอื่น
ๆ เนื่องจากพวกมันสามารถผลิตยูริเคสที่ช่วยย่อยสลายกรดยูริกได้เอง
ส่วนมนุษย์และวงศ์ลิงใหญ่อื่น ๆ จะไม่มีความสามารถนี้ จึงมักพบโรคนี้ได้อยู่บ่อย ๆ
ข้อแนะนำเพื่อบำบัดโรคเกาต์
สำหรับข้อแนะนำเพื่อบำบัดโรคเกาต์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็มีดังนี้
- พยายามควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไป เพราะจะยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงการในเป็นโรคเกาต์หรือทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงยิ่งขึ้น
ส่วนผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินก็ให้ลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่หักโหม
ซึ่งหากทำได้นอกจากจะมีหุ่นที่ดีขึ้นแล้ว
ก็ช่วยให้อาการทุเลาลงและลดความเสี่ยงการป่วยเกาต์ได้ดีเช่นกัน
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้วหรือวันละ
2 ลิตร เพราะน้ำจะช่วยลดความเข้มข้นของกรดยูริคได้ดีและเร่งการขับกรดยูริคออกจากร่างกายอีกด้วย
- เน้นการกินผัก ผลไม้เป็นหลัก พร้อมทั้งเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตชนิดขัดสี
รวมถึงพวกเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างเด็ดขาด แต่ควรระวังผักที่มียูริคสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์
เพราะมีสารพิวรีนสูงมากและยังเป็นตัวการเร่งการสังเคราะห์กรดยูริคในร่างกายอีกด้วย
- เลี่ยงการทานพวกเครื่องในสัตว์และอาหารทะเลบางชนิด เช่น ตับ ตับอ่อน ปลาซาร์ดีน หอยแมลงภู่ ปลาทูน่าและปลาเทราต์ เป็นต้น
นั่นก็เพราะอาหารเหล่านี้มีสารพิวรีนสูงมาก
จึงอาจไปเพิ่มระดับกรดยูริคในเลือดจนทำให้เป็นกาต์ได้นั่นเอง
ส่วนผู้ที่เป็นเกาต์อยู่แล้วก็ควรเลี่ยงอย่างเด็ดขาดเช่นกัน
โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดยูริคมาก เช่น สัตว์ปีก
- กินอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป โดยควรจำกัดเนื้อสัตว์ไว้ที่วันละ 120-180 กรัมเท่านั้น
- จำกัดปริมาณของอาหารที่มีไขมันสูง โดยพยายามกินให้น้อยที่สุดหรือเลือกกินเฉพาะที่มีไขมันดีเท่านั้น
ส่วนน้ำมันสกัดก็ให้จำกัดไว้ที่วันละ 3-6 ช้อนชา
- แอลกอฮอล์ทุกชนิดล้วนเป็นตัวการเพิ่มการผลิตกรดยูริคในร่างกาย และอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ จึงควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
โดยเฉพาะพวกวิสกี้
- การกินวิตามินซีอย่างต่อเนื่องวันละ 500 มิลลิกรัม พบว่าจะสามารถลดระดับกรดยูริกในร่างกายได้
แต่ทั้งนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนที่จะเสริม เพราะในบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถเสริมวิตามินซีได้
- จากการวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟก็จะช่วยลดความเสี่ยงโรคเกาต์ได้เหมือนกัน แต่ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น
และที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน
เพราะในบางคนที่เป็นโรคอื่นอาจไม่สามารถดื่มกาแฟได้
- เชอร์รี่เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ ดังนั้นจึงควรกินเชอร์รี่บ่อยๆ
พร้อมสลับไปกินผลไม้อื่นๆที่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน
นอกจากข้อแนะนำดังกล่าวแล้ว
เนื่องจากโรคเกาต์นั้นมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยตรง ดังนั้นการกินอาหารที่จะช่วยบรรเทารักษาอาการของโรคเหล่านี้ได้
ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ด้วยนั่นเอง
เพราะฉะนั้นหากพบว่าป่วยด้วยโรคเหล่านี้ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
ก่อนที่จะป่วยด้วยโรคเกาต์อีกโรคนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น