วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

อาหารที่ควรงด


เนื่องจากโรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การกินอยู่ ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งได้แก่อาหารต่อไปนี้
1. เนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด
2. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
3. ไข่ปลา
4. ปลาดุกปลาไส้ตันปลาซาร์ดีน
5. กุ้ง
6. ผักชะอมผักกระถินผักสะเดา
7. กะปิ
8. น้ำต้มกระดูก
9. ซุปก้อน
10. เห็ด

อาหารแนะนำ ลดอาการเกาต์

1. ใบย่านางสดวันละ 10-20 ใบ ตามน้ำหนักตัวคั้นน้ำดื่ม ดื่มบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกวัน
2. ใบรางจืด + ใบเตย ต้มน้ำดื่มประจำ
3. ใบมะรุมสด ลวกจิ้มน้ำพริก
4. ลูกเดือยต้มกับข้าวเจ้า แบบข้าวต้ม ทานบ่อยๆ



5 สูตรสมุนไพร บรรเทาอาการปวด

       สมุนไพรไทยๆ หลายชนิด สามารถรักษาโรคเกาต์ ล้างกรดยูริก หาง่าย ทำง่าย กินง่าย ราคาถูก ลดการทรมานกับอาการปวด เพื่อเลี่ยงหรือช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งอาจมีสารเคมีตกค้างที่ไต ไตจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก ถือเป็นทางเลือกการบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติให้กับผู้ป่วย



วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

นวัตกรรมสเปรย์หอมบรรเทาอาการปวด 
หลักการและเหตุผล
       จากการศึกษา สังเกตพฤติกรรมการทำงานของประชาชนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆในชุมชนบ้าน ท่าบ่อ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีพบว่าประชาชนส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคในระบบข้อ คิด เป็นร้อยละ 75 ซึ่งพบมากในเพศชายร้อยละ 40 เพศหญิงร้อยละ 35 รองลงมาคือโรคเกาต์ พบในเพศชาย คิด เป็นร้อยละ 10 และโรครูมาตอยด์ พบในเพศหญิง ร้อยละ 10 และโรคอื่น คิดเป็นร้อยละ 5 จะเห็นว่า ประชาชนส่วนมากจะทำอาชีพเกษตรกรรม และจักรสาน รวมทั้งรับจ้างทั่วไป ซึ่งจะมีการท างานเป็นเวลานาน บางคนมีการออกแรงมากกับการทำงาน ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อ และมีบางราย เป็นโรคปวดตามข้อและกระดูก ปัจจัยหลักอาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในการปฏิบัติงานของประชาชนโดย ส่วนมากมักจะหันไปพึ่งยาที่ทำให้หายปวด เช่น ยาหม่อง ยาเขียว น้ำมันมวย พิมเสน ยาเหลือง และยา ประเภทยาลูกกอนหรือยาชุด สรรพคุณของยาลูกกอนและยาชุด คือช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การบวมและอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นความเชื่อและความเคยชินของประชาชนเอง ที่รับประทานแล้วพอ ทุเลาหรือหายปวดชั่วคราว แต่ยาชนิดนี้มีความรุนแรงและอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อร่างกายตามมาในภายหลัง ดังนั้น นักศึกษาจึงเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ และมีความสนใจที่จะจัดทำนวัตกรรม “สเปรย์หอม บรรเทาอาการปวด” ที่ทำจากสมุนไพรพื้นบ้าน 3 อย่างได้แก่ ไพล มะกรูด และเหล้าขาวเพื่อทดลอง ศึกษากับประชาชนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่ เป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของประชาชนในชุมชน ต่อไป
วัตถุประสงค์
       1. เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากระบบข้อต่างๆ
       2. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรและเพิ่มทางเลือกในการบำบัดอาการเจ็บป่วย
       3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก และสามารถดูแลตนเองได้ใน เรื่อง การใช้ ยานวดสมุนไพรพื้นบ้านแทนการใช้ยาบรรเทาอาการปวดอื่นๆ

สมุนไพรที่ใช้ในการทำนวัตกรรม




 ไพล 
ไพล หรือ ว่านไพล ชื่อสามัญ : Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรไพล มีชื่อท้องถิ่น ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของไพล
       - ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

       - ใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร
       - ดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง
       
       - ผลไพล ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
สรรพคุณของไพล

       1. ดอกไพล สรรพคุณช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน (ดอก)
       2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ต้นไพล)
       3. สรรพคุณสมุนไพรไพล ใบช่วยแก้ไข้ (ใบ)
       4. ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต (หัวไพล)
       5. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (หัวไพล)
       6. ไพลกับสรรพคุณทางยา เหง้าช่วยขับโลหิต (เหง้า)
       7. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออกทางจมูก (ราก)
       8. ช่วยรักษาโรคที่บังเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก (เหง้า)
       9. เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้ง 5 ส่วน / ดีปลี 2 ส่วน / พริกไทย 2 ส่วน / กานพลู 1/2 ส่วน / พิมเสน 1/2 ส่วน นำมาบดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชาชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทาน หรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทานครั้งละ 2 ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้าแห้ง)
       10. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือด้วยเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม (เหง้าแห้ง)
       11. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 4-5 แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชาแล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าสด)
       12. ช่วยแก้อาการท้องผูก (เหง้า)
       13. ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ (เหง้า)
       14. ช่วยแก้อุจจาระพิการ (ต้นไพล)
       15. ช่วยขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลาย และแก้มุตกิดระดูขาว (หัวไพล, เหง้า)
       16. ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (เหง้า)
       17. ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก / หรือจะใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้เหง้า 1 เหง้า นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทานวดบริเวณที่มีอาการ / หรือจะนำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ แล้วอังไอน้ำให้ความร้อน นำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมและบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย / หรือจะใช้ทำเป็นน้ำมันไพล ด้วยการใช้ไพลหนัก 2 กิโลกรัม นำมาทอดในน้ำมันพืชร้อน ๆ 1 กิโลกรัม ให้ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก และใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา และทอดต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วนำมากรองรอจนน้ำมันอุ่น ๆ และใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด รอจนเย็นแล้วจึงเขย่าการบูรให้ละลาย แล้วนำน้ำมันไพลมาทาถูนวดวันละ 2 ครั้งเวลามีอาการปวด เช้า-เย็น (สูตรของคุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม) (เหง้า, หัว)
       18. ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ (เหง้า)
       19. ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย (ใบ)
       20. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เหง้า)
       21. ไพล สรรพคุณของเหง้าช่วยรักษาฝี (เหง้า)
       22. ช่วยดูดหนอง (เหง้า)
       23. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้เหง้านำมาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาด ฝนแล้วทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน (เหง้า)
       24. เหง้าใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้ (เหง้า)
       25. ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ)
       26. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา (เหง้า)
       27. ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ (เหง้า)
       28. ใช้เป็นยาสมานแผล ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด)
       29. เหง้าใช้เป็นยาแก้เล็บถอด ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นหนอง โดยควรเปลี่ยนยาที่ใช้พอกวันละ 1 ครั้ง (เหง้าสด)
       30. เหง้าไพลสามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรีได้ (เหง้า)
       31. เหง้าของไพลมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจากการทดลองพบว่ามันมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบได้ (เหง้า)
       32. ไพลมีฤทธิ์ช่วยคล้ายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ รวมไปถึงกระเพาะอาหารในหนูทดลอง
       33. ไพลมีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย
       34. ไพลมีฤทธิ์ช่วยต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด โดยสามารถช่วยลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮีสตามีนเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเกิดอาการหอบน้อยลง การทำงานของปอดทำงานได้ดีขึ้น
       35. เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะกานพลู” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุ
       36. เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะไพล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร
ข้อควรระวัง
       - การรับประทานในขนาดสูงหรือการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ และยังไม่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด และไม่ควรนำมารับประทานแบบเดี่ยว ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะมีการขจัดสารที่พิษต่อตับออกไปเสียก่อน
       - การใช้ครีมไพลห้ามใช้ทาบริเวณขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด
       - ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตรและเด็กเล็ก





 มะกรูด 
มะกรูด ชื่อสามัญ : Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda
มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรมะกรูด มีชื่อท้องถิ่น อื่นๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น
สรรพคุณของไพล
       1. มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
       2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
       3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
       4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
       5. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
       6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
       7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
       8. ใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
       9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
       10. ใบมะกรูดมีสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
       11. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล, ราก)
       12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปรงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก
       13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
       14. ช่วยแก้อาการปวดท้องหรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ด้วยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
       15. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
       16. ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
       17. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
       18. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อน ๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
       19. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่าง ๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการ     ใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
       20. ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นละออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีตเมนต์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่าย เพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
       21. ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาการชันนะตุได้
       22. ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซีกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
       23. มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
       24. เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วนให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจ
       25. มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
       26. ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
       27. น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
       28. ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
       29. ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
       30. น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
       31. มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
       32. ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
       33. มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
       34. หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
       35. ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
ช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
       36. ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน, สะระแหน่ 1/2 ส่วน, น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน, เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า

การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น


 ขั้นตอนการทำนวัตกรรม 
1.น้ำมะกรูดมาล้างให้สะอาด แล้วผ่าครึ่ง หรือผ่าแว่น จำนวน 10 ลูก และนำไปใส่ในขวดโหลที่เตรียมไว้
2.เทเหล้าขาวตามลงไป จากนั้นปิดฝาให้สนิท และหมักดองทิ้งไว้ 15 วัน
3.เมื่อหมักดองครบตามเวลาที่กำหนด นำผ้าขาวมากรองเอาแต่น้ำหมักใส่ลงไปในขวดที่เราเตรียมไว้
4.นำสาระเหยมาเติมลงไปในขวดเพื่อเพิ่มความหอมและผ่อนคลายแก่ผู้ใช้



วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Blog ของเพื่อน


โรคเบาหวาน
โรคไต
ข้อเข่าเสื่อม
โรคมะเร็ง
หลอดเลือดตีบ


  กรุณาคลิกดูวิดิทัศน์ด้านล่าง  


โรคเกาต์ (Gout)


 โรคเกาต์ 


       เกาต์ หรือ เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง (พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน]) จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ นิ้วหัวแม่เท้า
       เกาต์ หรือ เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง (พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน) จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ นิ้วหัวแม่เท้า
 สาเหตุของโรคเกาต์ 
       โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดการตกผลึกของยูเรตตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ (ทำให้เกิดข้ออักเสบ) ไต (ทำให้เกิดนิ่วในไตและไตวาย) ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจาก ร่างกายสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก(นอกจากกรดยูริกในเลือดสูงจะเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่าอาจเป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีสารพิวรีนสูง และจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้) หรือเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณที่ขับออกจากร่างกายมีน้อยกว่า (กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกายได้ 2 ทางหลัก คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 และส่วนที่เหลือจะขับออกทางไตได้ประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต) ส่วนสาเหตุอื่น ๆ หรือสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบเป็นซ้ำใหม่ คือ
       - ความผิดปกติทางพันธุกรรมจากการขาดเอนไซม์บางตัวหรือเอนไซม์บางตัวทำงานมากเกินไป เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
       - เกิดจากโรคบางชนิดที่ส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น
       - เกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง เช่น เป็นโรคไต ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ
       - เกิดจากโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์ (ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน, ภาวะขาดไทรอยด์) เพราะส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
       - เกิดจากเพศ เนื่องจากพบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
       - การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการขับกรดยูริกออกทางไตหรือทางปัสสาวะ หลังการดื่มจึงทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง กรดยูริกจึงคั่งอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ
       - การรับประทานอาหารที่ให้กรดยูริก (สารพิวรีน) สูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ หรือการรับประทานอาหารที่หมักด้วยยีสต์ (Yeast คือ เชื้อราบางชนิดที่ใช้ในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม) เพราะเป็นสาเหตุทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
       - ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน โดยอาจสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน (Insulin resistance)
       - เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ข้อกระดูก การกระทบกระแทกที่ข้อ
       - อากาศเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงก่อนฝนตก
       - การติดเชื้อของร่างกาย
       - ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide – HCTZ), ไซโคลสปอริน (Cyclosporin), เลโวโดปา (Levodopa) เป็นต้น
หมายเหตุ : กรดยูริก หรือ กรดยูริค (Uric acid) เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารพิวรีน (Purine) ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง อาหารทะเล ยีสต์ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน และเป็นผลมาจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา และจะถูกขับออกทางไต แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง ก็จะทำให้ร่างกายมีกรดยูริกคั่งอยู่มากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ (โรคเกาต์ หมายถึง ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวม แดง ร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องโรคนี้เสมอไป)หมายเหตุ : กรดยูริก หรือ กรดยูริค (Uric acid) เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารพิวรีน (Purine) ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง อาหารทะเล ยีสต์ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน และเป็นผลมาจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา และจะถูกขับออกทางไต แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง ก็จะทำให้ร่างกายมีกรดยูริกคั่งอยู่มากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ (โรคเกาต์ หมายถึง ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวม แดง ร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องโรคนี้เสมอไป)
 ความเสี่ยงของโรคเกาต์ 
       โรคเกาต์ เกิดได้จากหลากหลายความเสี่ยงดังต่อไปนี้
       1. การดำเนินชีวิตที่ไม่ดี การดำเนินชีวิตที่ไม่ดีอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูงและเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อไก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวันมากกว่าวันละ 2 แก้ว สำหรับผู้ชายและมากกว่าวันละ 1 แก้วสำหรับผู้หญิง
       2. การลดน้ำหนักเร็วเกินไป คนที่เป็นโรคอ้วนมักจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ได้สูง โดยเฉพาะเมื่อลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป นั่นก็เพราะว่าเมื่อลดน้ำหนักจะทำให้ร่างกายปลดปล่อยสารพิวรีนออกมาเป็นจำนวนมาก และสารตัวนี้นี่เองที่ไปกระตุ้นให้เกิดการผลิตกรดยูริคมากขึ้นจนส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรลดแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่หักโหมจนเกินไปจะดีกว่า นอกจากนี้อาหารที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักบางอย่าง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ให้สูงขึ้นได้อีกด้วย เช่น อาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง และพวกเครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด รวมถึงเบคอน ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นโรคเกาต์ก็ควรระมัดระวังการกินอาหารเหล่านี้ไม่ให้มากเกินไปเด็ดขาด
       3. โรคบางชนิดหรือยารักษาโรคบางชนิด นอกจากสาเหตุอื่นๆ แล้ว โรคเกาต์ก็อาจเกิดจากการเป็นโรคหรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิดได้เหมือนกัน ซึ่งโรคที่พบว่าทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ได้มากที่สุด ก็คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดตีบ ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงการผ่าตัดและการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันก็อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ได้ ส่วนยาที่ส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ที่เห็นได้ชัด ก็ได้แก่ยาขับปัสสาวะรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาแอสไพริน การทำเคมีบำบัดและยาที่ใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น นั่นก็เพราะยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้มีการปล่อยสาวพิวรีนออกมามากขึ้นและสลายเป็นกรดยูริคในปริมาณมากจนทำให้เป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุดนั่นเอง
       4. กรรมพันธุ์ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ด้วยสาเหตุจากกรรมพันธุ์จะพบได้ 1 ใน 4 ดังนั้นหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคเกาต์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเกาต์ให้สูงขึ้นไปอีกนั่นเอง
       5. อายุและเพศ จากสถิติการป่วยด้วยโรคเกาต์พบว่า ผู้ชายมักจะเกิดโรคเกาต์ได้ง่ายในช่วงอายุ 30-50 ปี ในขณะที่ผู้หญิงจะเกิดโรคเกาต์ได้ในช่วงอายุหลังวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะเดียวกันผู้ชายก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ได้มากกว่าผู้หญิงถึง 5 เท่าอีกด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในคนที่มีอายุมากขึ้นจะต้องระมัดระวังโรคเกาต์มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ชายในช่วงวัยดังกล่าว
 อาการของโรคเกาต์ 
       - ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีแบบฉับพลัน (มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 วัน) ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ซึ่งข้อที่พบว่าปวดกันมาก คือ นิ้วหัวแม่เท้า (ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า ก็อาจพบได้บ้างในผู้ป่วยบางราย) โดยข้อที่ปวดจะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อสัมผัสถูก และจะพบลักษณะจำเพาะ คือ เมื่ออาการเริ่มจะทุเลาลง ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน
   
       - ในการปวดข้อครั้งแรก ผู้ป่วยมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง
       - ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
      - ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการปวดในตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลังกินเลี้ยง หรือหลังกินอาหารมากผิดปกติ หรือเดินสะดุด และในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการขณะที่มีภาวะเครียดทางจิตใจ เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัดด้วยสาเหตุอื่น
       - ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมโรคให้ดี ในระยะแรก ๆ อาการอาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยจะเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งเป็นทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง และระยะการปวดจะนานวันมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งปวดนานขึ้นเป็นหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ
       - ในระหลัง ๆ เมื่อข้ออักเสบหลายข้อขึ้น ผู้ป่วยมักจะสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่าปุ่มโรคเกาต์หรือตุ่มโทฟัส (Tophus หรือ Tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของกรดยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออกเป็นสารขาว ๆ คล้ายกับชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า และในที่สุดข้อต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ พิการจนใช้งานไม่ได้

 ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์ 
       - กลายเป็นโรคเกาต์เรื้อรังเมื่อไม่ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง หรือเกิดปุ่มผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จนส่งผลเสียต่อบุคลิกและภาพลักษณ์
       - ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะข้อพิการ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (พบได้ประมาณ 25%) ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อนตามมาได้
       - ผู้ป่วยโรคเกาต์มักจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากกว่าคนปกติ (สันนิษฐานว่าอาจมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ของโรคเหล่านี้ร่วมกับโรคเกาต์) และถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้ควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ปล่อยให้เป็นแบบเรื้อรัง ในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้
 การวินิจฉัยโรคเกาต์ 
       แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยดูจากประวัติอาการต่าง ๆ ประวัติการรับประทานอาหารหรือยาบางชนิด ประวัติการเป็นโรคเกาต์ของคนในครอบครัว การเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ การตรวจร่างกาย ซึ่งข้อที่ปวดของผู้ป่วยจะมีลักษณะบวมแดงร้อน ผู้ป่วยอาจมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจพบตุ่มโทฟัส และการตรวจเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก (อ่านเพิ่มเติมที่บทความเรื่อง การตรวจกรดยูริกในเลือด) อาจมีตรวจภาพข้อที่เกิดโรคด้วยการเอกซเรย์ด้วยในบางราย แต่ที่แน่นอน คือ แพทย์จะเจาะดูดน้ำจากข้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งถ้าพบผลึกของยูเรตแพทย์ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์
       อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบโรคเกาต์ หากตรวจพบระดับยูริกในเลือดปกติ แพทย์จะเจาะดูดน้ำจากข้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วย ถ้าพบผลึกของยูเรตแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์ แต่ถ้าสิ่งที่ตรวจพบเป็นผลึกของแคลเซียมไพโรฟอสเฟต (Calcium pyrophosphate) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็น โรคเกาต์เทียม” (Pseudogout) ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ ปวดข้อ ข้ออักเสบเฉียบพลันกำเริบเป็นครั้งคราวคล้ายโรคเกาต์ แต่โรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะทุเลาลงได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
 โรคที่มักพบร่วมกับโรคเก๊าท์  (associated diseases)
       1. โรคความดันโลหิตสูง
       2. ภาวะไขมันในเลือดสูง (hypertriglyceridemia)
       3. โรคเบาหวาน
       4. ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก premature artherosclerosis เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน 
       ทั้งหมดนี้เป็นโรคที่พบร่วมกัน แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันในแง่พยาธิกำเนิด
 วิธีรักษาโรคเกาต์ 
       1. การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์ (วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์เบื้องต้น)
           - เมื่อมีอาการปวดควรนอนพักผ่อน
           - ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เพื่อป้องกันนิ่วในไต (การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต และช่วยลดโอกาสการตกตะกอนจนเป็นนิ่วในไต) เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำ
           - งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์ เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีการเพิ่มของสารแล็กเทสในเลือด ซึ่งสารนี้จะไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากไต
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลาไส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำเกรวี (Gravy) เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกปานกลาง ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้พอประมาณ แต่อย่าซ้ำบ่อย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก สะตอ หน่อไม้ ถั่วเป็นต้น ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกต่ำ ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัด ได้แก่ ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิด ธัญพืช ปลาน้ำจืด ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
           - รับประทานอาหารประเภทข้าว-แป้งให้มากพอ (วันละ 8-12 ทัพพี) เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลัง เนื่องจากการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น
           - รับประทานผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด จึงส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักยอดอ่อน
           - ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองด้วยว่า อาหารประเภทใดที่กินแล้วสามารถควบคุมกรดยูริกในเลือดได้ดีก็ให้เลือกกินอาหารประเภทนั้น หรืออาหารประเภทใดที่กินแล้วทำให้อาการกำเริบก็ควรหลีกเลี่ยง
           - ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อยอย่างถูกวิธี (ควรใช้วิธีการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ) ไม่ควรเกินครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ อย่าลดน้ำหนักตัวแบบฮวบฮาบ เพราะจะมีผลทำให้เกิดภาวะคีโตนในเลือดสูง จนส่งผลให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง และที่สำคัญก็คือไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการอดอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์อย่างรวดเร็วผิดปกติ ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ข้ออักเสบกำเริบขึ้นมาได้
           - ควรระมัดระวังอย่าให้ข้อกระดูกได้รับการบาดเจ็บ
           - หลีกเลี่ยงการซื้อยาต่าง ๆ กินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หรือใช้ยาที่อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) ฯลฯ
           - งดการบีบนวดตรงตำแหน่งที่เจ็บ เพราะยิ่งนวดจะยิ่งปวดและหายช้า
           - เมื่อมีอาการปวดให้ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ หรือใช้น้ำแข็งประคบตรงข้อที่ปวด ประมาณ 20 นาที และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักตรงข้อนั้น ๆ
           - เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
           - ควรกินยาต่าง ๆ ตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ถูกต้อง และไม่ขาดยา
       2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัดเจน แพทย์จะให้ยาลดข้ออักเสบ เช่น โคลชิซิน (Colchicine) ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ด แล้วให้ซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ดทุก ๆ 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วให้เป็น 1 เม็ดทุก 2 ชั่วโมงจนกว่าจะหายปวด แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ซึ่งเกิดจากพิษของยาก็ต้องหยุดใช้ยา โดยทั่วไปจะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด แล้วอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 24-72 ชั่วโมง (ถ้ามีอาการท้องเดินให้กินยาโลเพอราไมด์ (Loperamide))
           - ถ้าไม่มียาโคลชิซินหรืออยู่ในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรืออินโดเมทาซิน (Indomethacin) ในครั้งแรกให้ 2 เม็ด แล้วให้ 1 เม็ดทุก ๆ 6 ชั่วโมง จนกว่าจะหาย แต่ยานี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ บางอย่าง เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
           - แต่ถ้ายังไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องให้ยาสเตียรอยด์แทน จากการวิจัยพบว่า กลูโคคอร์ติคอยด์มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับ NSAIDs และสามารถใช้ในกรณีที่ NSAIDs ถูกห้ามใช้ได้ โดยยานี้จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นเมื่อฉีดเข้าไปในข้อต่อ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยานี้ในกรณีที่มีการติดเชื้อที่ข้อต่อ เพราะสเตียรอยด์จะทำให้อาการแย่ลง
       3. ผู้ป่วยที่อาการยังไม่ดีขึ้น หรืออาการยังไม่ชัดเจน (แต่มีอาการผิดปกติของข้อ) หรือให้ยาลดข้ออักเสบแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยแพทย์มักจะตรวจวินิจฉัยโรคนี้โดยการเจาะเลือดเพื่อหาระดับของกรดยูริกในเลือด (ค่าปกติจะเท่ากับ 3-7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ถ้าผลตรวจออกมายังไม่ชัดเจน อาจต้องทำการเจาะดูดน้ำจากข้อที่อักเสบไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าเป็นโรคนี้ก็จะตรวจพบผลึกของยูเรต นอกจากนี้ถ้ามีความจำเป็นอาจต้องมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
       4. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์เรื้อรัง แพทย์จะให้กินยาโคลชิซิน (Colchicine) วันละ 1-2 เม็ด เพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบเป็นประจำ
       5. ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ (เป็นทางเลือกสำหรับการป้องกัน) เพื่อควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ก่อนการใช้ยานี้จะต้องรอให้ข้อหายอักเสบก่อน แล้วจึงเริ่มกินยาลดกรดยูริก (หรือปรับเพิ่มขนาดในรายที่เคยได้รับยานี้อยู่ก่อนแล้ว) เนื่องจากการลดหรือเพิ่มกรดยูริกในทันทีจะเป็นการกระตุ้นให้ข้ออักเสบมากขึ้นหรือนานยิ่งขึ้นได้ โดยยาลดกรดยูริกนี้จะมีให้เลือกใช้อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด แพทย์จะเลือกให้ใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย) และผู้ป่วยจะต้องกินยานี้เป็นประจำทุกวันไปตลอดชีวิต จึงจะช่วยให้สารยูริกที่สะสมอยู่ตามข้อและอวัยวะต่าง ๆ ละลายหายไปได้ รวมทั้งตุ่มโทฟัสก็จะยุบหายไปในที่สุด (ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดกรดยูริกไม่จำเป็นต้องงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์อย่างเคร่งครัด ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิดในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของยาที่ใช้) ได้แก่
           - ยาลดการสร้างกรดยูริก เช่น ยาเม็ดอัลโลพูรินอล (Allopurinol) ในขนาด 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงและอาจทำให้ตับอักเสบ (ถ้ากินแล้วเกิดการแพ้ คือ มีอาการคันตามตัว ควรหยุดใช้ยานี้ทันที)
           - ยาขับกรดยูริก เช่น ยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) 1-2 เม็ดต่อวัน แต่ยานี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีนิ่วในไตหรือภาวะไตวาย ถ้ากินยานี้ก็ไม่ควรกินยาแอสไพริน เพราะจะทำให้ฤทธิ์ในการขับกรดยูริกลดน้อยลง และที่สำคัญผู้ป่วยที่กินยานี้ ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไต เนื่องจากการตกตะกอนของกรดยูริก
       6. ผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริก จำเป็นต้องไปรับการตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติแล้วก็ตาม เพื่อติดตามดูว่าระดับของกรดยูริกในเลือดยังอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
       7. ผู้ป่วยที่มีเพียงกรดยูริกในเลือดสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อหรืออาการอื่น ๆ ก็ไม่ต้องใช้ยาลดกรดยูริก ยกเว้นถ้ามีระดับของกรดยูริกสูงเกิน 12 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ก็ควรกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ
 คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเกาต์ 
       - เมื่อมีอาการผิดปกติของข้อเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือเคยเป็นโรคเกาต์มาก่อน ควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่าง ๆ เลวร้ายลง หรือเมื่อมีความกังวลใจในอาการที่เกิดขึ้น
       - โรคเกาต์แม้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็ไม่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต (ถ้าไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดไตวาย) และหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาอย่าได้ขาด กินยาตามที่แพทย์สั่งไปตลอดชีวิต ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ
       - ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์ ควรตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ ๆ
       - โรคเกาต์เป็นโรคที่ไม่ค่อยเกิดในสัตว์ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากพวกมันสามารถผลิตยูริเคสที่ช่วยย่อยสลายกรดยูริกได้เอง ส่วนมนุษย์และวงศ์ลิงใหญ่อื่น ๆ จะไม่มีความสามารถนี้ จึงมักพบโรคนี้ได้อยู่บ่อย ๆ
 ข้อแนะนำเพื่อบำบัดโรคเกาต์ 
       สำหรับข้อแนะนำเพื่อบำบัดโรคเกาต์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็มีดังนี้
       - พยายามควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไป เพราะจะยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงการในเป็นโรคเกาต์หรือทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงยิ่งขึ้น ส่วนผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินก็ให้ลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่หักโหม ซึ่งหากทำได้นอกจากจะมีหุ่นที่ดีขึ้นแล้ว ก็ช่วยให้อาการทุเลาลงและลดความเสี่ยงการป่วยเกาต์ได้ดีเช่นกัน
       - ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้วหรือวันละ 2 ลิตร เพราะน้ำจะช่วยลดความเข้มข้นของกรดยูริคได้ดีและเร่งการขับกรดยูริคออกจากร่างกายอีกด้วย
       - เน้นการกินผัก ผลไม้เป็นหลัก พร้อมทั้งเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตชนิดขัดสี รวมถึงพวกเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างเด็ดขาด แต่ควรระวังผักที่มียูริคสูง
       - หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะมีสารพิวรีนสูงมากและยังเป็นตัวการเร่งการสังเคราะห์กรดยูริคในร่างกายอีกด้วย
       - เลี่ยงการทานพวกเครื่องในสัตว์และอาหารทะเลบางชนิด เช่น ตับ ตับอ่อน ปลาซาร์ดีน หอยแมลงภู่ ปลาทูน่าและปลาเทราต์ เป็นต้น นั่นก็เพราะอาหารเหล่านี้มีสารพิวรีนสูงมาก จึงอาจไปเพิ่มระดับกรดยูริคในเลือดจนทำให้เป็นกาต์ได้นั่นเอง ส่วนผู้ที่เป็นเกาต์อยู่แล้วก็ควรเลี่ยงอย่างเด็ดขาดเช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดยูริคมาก เช่น สัตว์ปีก
       - กินอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป โดยควรจำกัดเนื้อสัตว์ไว้ที่วันละ 120-180 กรัมเท่านั้น
       - จำกัดปริมาณของอาหารที่มีไขมันสูง โดยพยายามกินให้น้อยที่สุดหรือเลือกกินเฉพาะที่มีไขมันดีเท่านั้น ส่วนน้ำมันสกัดก็ให้จำกัดไว้ที่วันละ 3-6 ช้อนชา
       - แอลกอฮอล์ทุกชนิดล้วนเป็นตัวการเพิ่มการผลิตกรดยูริคในร่างกาย และอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ จึงควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะพวกวิสกี้
       - การกินวิตามินซีอย่างต่อเนื่องวันละ 500 มิลลิกรัม พบว่าจะสามารถลดระดับกรดยูริกในร่างกายได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนที่จะเสริม เพราะในบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถเสริมวิตามินซีได้
       - จากการวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟก็จะช่วยลดความเสี่ยงโรคเกาต์ได้เหมือนกัน แต่ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น และที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน เพราะในบางคนที่เป็นโรคอื่นอาจไม่สามารถดื่มกาแฟได้
       - เชอร์รี่เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ ดังนั้นจึงควรกินเชอร์รี่บ่อยๆ พร้อมสลับไปกินผลไม้อื่นๆที่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน
       นอกจากข้อแนะนำดังกล่าวแล้ว เนื่องจากโรคเกาต์นั้นมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยตรง ดังนั้นการกินอาหารที่จะช่วยบรรเทารักษาอาการของโรคเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ด้วยนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากพบว่าป่วยด้วยโรคเหล่านี้ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน ก่อนที่จะป่วยด้วยโรคเกาต์อีกโรคนั่นเอง

อาหารที่ควรงด

เนื่องจากโรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การกินอยู่ ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอ...