วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

นวัตกรรมสเปรย์หอมบรรเทาอาการปวด 
หลักการและเหตุผล
       จากการศึกษา สังเกตพฤติกรรมการทำงานของประชาชนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆในชุมชนบ้าน ท่าบ่อ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีพบว่าประชาชนส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคในระบบข้อ คิด เป็นร้อยละ 75 ซึ่งพบมากในเพศชายร้อยละ 40 เพศหญิงร้อยละ 35 รองลงมาคือโรคเกาต์ พบในเพศชาย คิด เป็นร้อยละ 10 และโรครูมาตอยด์ พบในเพศหญิง ร้อยละ 10 และโรคอื่น คิดเป็นร้อยละ 5 จะเห็นว่า ประชาชนส่วนมากจะทำอาชีพเกษตรกรรม และจักรสาน รวมทั้งรับจ้างทั่วไป ซึ่งจะมีการท างานเป็นเวลานาน บางคนมีการออกแรงมากกับการทำงาน ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อ และมีบางราย เป็นโรคปวดตามข้อและกระดูก ปัจจัยหลักอาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในการปฏิบัติงานของประชาชนโดย ส่วนมากมักจะหันไปพึ่งยาที่ทำให้หายปวด เช่น ยาหม่อง ยาเขียว น้ำมันมวย พิมเสน ยาเหลือง และยา ประเภทยาลูกกอนหรือยาชุด สรรพคุณของยาลูกกอนและยาชุด คือช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การบวมและอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นความเชื่อและความเคยชินของประชาชนเอง ที่รับประทานแล้วพอ ทุเลาหรือหายปวดชั่วคราว แต่ยาชนิดนี้มีความรุนแรงและอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อร่างกายตามมาในภายหลัง ดังนั้น นักศึกษาจึงเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ และมีความสนใจที่จะจัดทำนวัตกรรม “สเปรย์หอม บรรเทาอาการปวด” ที่ทำจากสมุนไพรพื้นบ้าน 3 อย่างได้แก่ ไพล มะกรูด และเหล้าขาวเพื่อทดลอง ศึกษากับประชาชนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่ เป็นโรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ และโรคระบบข้อต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของประชาชนในชุมชน ต่อไป
วัตถุประสงค์
       1. เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากระบบข้อต่างๆ
       2. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรและเพิ่มทางเลือกในการบำบัดอาการเจ็บป่วย
       3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก และสามารถดูแลตนเองได้ใน เรื่อง การใช้ ยานวดสมุนไพรพื้นบ้านแทนการใช้ยาบรรเทาอาการปวดอื่นๆ

สมุนไพรที่ใช้ในการทำนวัตกรรม




 ไพล 
ไพล หรือ ว่านไพล ชื่อสามัญ : Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรไพล มีชื่อท้องถิ่น ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของไพล
       - ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

       - ใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร
       - ดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง
       
       - ผลไพล ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
สรรพคุณของไพล

       1. ดอกไพล สรรพคุณช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน (ดอก)
       2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ต้นไพล)
       3. สรรพคุณสมุนไพรไพล ใบช่วยแก้ไข้ (ใบ)
       4. ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต (หัวไพล)
       5. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (หัวไพล)
       6. ไพลกับสรรพคุณทางยา เหง้าช่วยขับโลหิต (เหง้า)
       7. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออกทางจมูก (ราก)
       8. ช่วยรักษาโรคที่บังเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก (เหง้า)
       9. เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้ง 5 ส่วน / ดีปลี 2 ส่วน / พริกไทย 2 ส่วน / กานพลู 1/2 ส่วน / พิมเสน 1/2 ส่วน นำมาบดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชาชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทาน หรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทานครั้งละ 2 ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้าแห้ง)
       10. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือด้วยเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม (เหง้าแห้ง)
       11. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 4-5 แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชาแล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าสด)
       12. ช่วยแก้อาการท้องผูก (เหง้า)
       13. ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ (เหง้า)
       14. ช่วยแก้อุจจาระพิการ (ต้นไพล)
       15. ช่วยขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลาย และแก้มุตกิดระดูขาว (หัวไพล, เหง้า)
       16. ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (เหง้า)
       17. ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก / หรือจะใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้เหง้า 1 เหง้า นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทานวดบริเวณที่มีอาการ / หรือจะนำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ แล้วอังไอน้ำให้ความร้อน นำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมและบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย / หรือจะใช้ทำเป็นน้ำมันไพล ด้วยการใช้ไพลหนัก 2 กิโลกรัม นำมาทอดในน้ำมันพืชร้อน ๆ 1 กิโลกรัม ให้ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก และใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา และทอดต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วนำมากรองรอจนน้ำมันอุ่น ๆ และใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด รอจนเย็นแล้วจึงเขย่าการบูรให้ละลาย แล้วนำน้ำมันไพลมาทาถูนวดวันละ 2 ครั้งเวลามีอาการปวด เช้า-เย็น (สูตรของคุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม) (เหง้า, หัว)
       18. ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ (เหง้า)
       19. ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย (ใบ)
       20. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เหง้า)
       21. ไพล สรรพคุณของเหง้าช่วยรักษาฝี (เหง้า)
       22. ช่วยดูดหนอง (เหง้า)
       23. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้เหง้านำมาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาด ฝนแล้วทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน (เหง้า)
       24. เหง้าใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้ (เหง้า)
       25. ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ)
       26. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา (เหง้า)
       27. ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ (เหง้า)
       28. ใช้เป็นยาสมานแผล ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด)
       29. เหง้าใช้เป็นยาแก้เล็บถอด ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นหนอง โดยควรเปลี่ยนยาที่ใช้พอกวันละ 1 ครั้ง (เหง้าสด)
       30. เหง้าไพลสามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรีได้ (เหง้า)
       31. เหง้าของไพลมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจากการทดลองพบว่ามันมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบได้ (เหง้า)
       32. ไพลมีฤทธิ์ช่วยคล้ายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ รวมไปถึงกระเพาะอาหารในหนูทดลอง
       33. ไพลมีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย
       34. ไพลมีฤทธิ์ช่วยต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด โดยสามารถช่วยลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮีสตามีนเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเกิดอาการหอบน้อยลง การทำงานของปอดทำงานได้ดีขึ้น
       35. เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะกานพลู” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุ
       36. เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะไพล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร
ข้อควรระวัง
       - การรับประทานในขนาดสูงหรือการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ และยังไม่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด และไม่ควรนำมารับประทานแบบเดี่ยว ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะมีการขจัดสารที่พิษต่อตับออกไปเสียก่อน
       - การใช้ครีมไพลห้ามใช้ทาบริเวณขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด
       - ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตรและเด็กเล็ก





 มะกรูด 
มะกรูด ชื่อสามัญ : Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda
มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรมะกรูด มีชื่อท้องถิ่น อื่นๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น
สรรพคุณของไพล
       1. มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
       2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
       3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
       4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
       5. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
       6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
       7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
       8. ใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
       9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
       10. ใบมะกรูดมีสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
       11. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล, ราก)
       12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปรงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก
       13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
       14. ช่วยแก้อาการปวดท้องหรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ด้วยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
       15. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
       16. ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
       17. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
       18. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อน ๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
       19. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่าง ๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการ     ใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
       20. ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นละออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีตเมนต์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่าย เพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
       21. ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาการชันนะตุได้
       22. ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซีกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
       23. มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
       24. เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วนให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจ
       25. มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
       26. ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
       27. น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
       28. ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
       29. ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
       30. น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
       31. มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
       32. ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
       33. มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
       34. หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
       35. ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
ช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
       36. ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน, สะระแหน่ 1/2 ส่วน, น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน, เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า

การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น


 ขั้นตอนการทำนวัตกรรม 
1.น้ำมะกรูดมาล้างให้สะอาด แล้วผ่าครึ่ง หรือผ่าแว่น จำนวน 10 ลูก และนำไปใส่ในขวดโหลที่เตรียมไว้
2.เทเหล้าขาวตามลงไป จากนั้นปิดฝาให้สนิท และหมักดองทิ้งไว้ 15 วัน
3.เมื่อหมักดองครบตามเวลาที่กำหนด นำผ้าขาวมากรองเอาแต่น้ำหมักใส่ลงไปในขวดที่เราเตรียมไว้
4.นำสาระเหยมาเติมลงไปในขวดเพื่อเพิ่มความหอมและผ่อนคลายแก่ผู้ใช้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาหารที่ควรงด

เนื่องจากโรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การกินอยู่ ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอ...